วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

มาลัยแบน


มาลัยแบน

 

มาลัยแบน หมายถึง มาลัยที่มีลักษณะรูปทรงตามขวาง เป็นรูปยาวตามกลีบ ปลายกลีบของด้านตรงข้ามยาวจดแนวเส้นรอบวง แต่ปลายดอกของด้านขวางและด้านตรงข้ามแคบ เนื่องจากส่งก้านสั้นและชิดโคนดอก



 

มาลัยแบนแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. มาลัยแบนยกดอกด้านเดียว คือ มาลัยที่ใช้โชว์ด้านเดียว เหมาะสำหรับเป็นรัดข้อ รัดพานดอกไม้ คล้องกับมาลัยซีก หรือมาลัยผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น

2. มาลัยแบนยกดอกสองด้าน คือ มาลัยที่ใช้โชว์สองด้าน เหมาะสำหรับทำมาลัยคล้องคอ มาลัยชำร่วย ลักษณะจะเหมือนมาลัยแบนยกดอกด้านเดียว แต่จะยกดอกทั้งสองด้าน

3. มาลัยแบนยกดอกแบบตัวหนอน
คือ มาลัยแบนยกดอกสองด้านหัวท้ายจะเรียวเล็ก คล้ายมาลัยตัวหนอน แต่ส่วนกลางมองทางด้านหน้าจะดูป่องโค้ง แต่ถ้ามองด้านข้างส่วนกลางจะดูแบน


 
 

การร้อยมาลัยแบน มีหลักที่สำคัญดังนี้

1. การเลือกดอกพุด ต้องมีขนาดดอกโตเท่า ๆ กัน ตัดก้าน 2 ขนาด คือ ขนาดสั้น และยาว
ส่วนกลีบกุหลาบ เลือกกลีบใหญ่ เพื่อใช้ร้อยด้านข้างตลอดแนว
2. การขึ้นต้นแถวแรก กลีบกุหลาบทั้งสองข้างจะอยู่ในแนวเส้นตรง ดอกพุดจะทอดกลีบแนวตั้งฉากตรงกลาง ระหว่างกลีบกุหลาบทั้งสองข้าง
3. ส่วนมาลัยแบนตัวหนอนนั้น นิยมร้อยขึ้นต้นด้วยดอกพุด หรือกลีบกุหลาบ ส่งกลีบคล้ายร้อยมาลัยตุ้มครึ่งตุ้ม แล้วจึงต่อด้วยมาลัยแบน ด้านข้างจะดูโค้งมน ด้านหน้าและด้านหลัง จะเห็นลายแบน แล้วจบด้วยมาลัยตุ้มครึ่งตุ้มเช่นกัน

 

ร้อยมาลัยแบนตามขั้นตอนดังภาพ...
แถวที่ 1 กุหลาบ 2 พุด 1 กุหลาบ 2 (ความยาวกลีบกุหลาบเท่ากันทุกกลีบ ดอกพุดส่งก้านสั้น)
แถวที่ 2 กุหลาบ 1 พุด 2 กุหลาบ 1 (กลีบกุหลาบวางสับหว่างกับกลีบแถวที่ 1 ดอกพุดวางระหว่างดอกพุดแถวที่ 1)
แถวที่ 3 กุหลาบ 2 พุด 1 เญจมาศน้ำ 1 พุด 1 กุหลาบ 2 (ดอกเบญจมาศน้ำวางตรงกลางดอกพุด)
แถวที่ 4 กุหลาบ 1 พุด 2 กุหลาบ 1 (เหมือนแถวที่ 2)
แถวที่ 5 กุหลาบ 2 พุด 1 กุหลาบ 2 (เหมือนแถวที่ 1)
จะได้มาลัยแบนยกดอก 1 ช่วงลาย ร้อยให้ได้ความยาวตามต้องการนะคะ.............

 

 
                                             



      





 

 

มาลัยแบนนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

1. ใช้ประกอบมาลัยคล้องมือ มาลัยประธาน มาลัยสองชาย
2. ใช้ห้อยแทนเฟื่อง
3. ใช้ร้อยรัดประกอบงานดอกไม้สดต่าง ๆ เช่น รัดต้นเทียน ตกแต่งพาน แต่งเครื่องแขวน เป็นต้น

 

การร้อยมาลัยซีกดอกไม้สf




ความหมายของมาลัยซีกดอกไม้สด

ดาราศรี สมสวัสดิ์ (2529 : 36) ได้ให้ความหมายของคำว่า มาลัยซีกไว้ดังนี้
มาลัยซีก หมายถึง มาลัยที่มีลักษณะรูปทรงตามขวางเพียงครึ่งซีกของวงกลม มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าเสี้ยว หรือมาลัยเสี้ยว เพราะในสมัยโบราณใช้มาลัยนี้รัดจุกแทนเกี้ยวรัดผม มาลัยซีกมีประโยชน์มากมายในงานประดิษฐ์ดอกไม้สด เช่นใช้ผูกรัดเพื่อปิดรอยต่อของมาลัยและเครื่องแขวนต่าง ๆ ใช้รัดและคล้องเป็นมาลัยลูกโซ่ มาลัยผ้าเช็ดหน้า ผูกเป็นดอกทัดหู
อุปกรณ์
1. เข็มร้อยมาลัย 2. กรรไกร 3. คีมปากจิ้งจก 4. กระบอกฉีดน้ำ 5. ภาชนะใส่ดอกไม้
วัสดุ
1. ดอกไม้ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกพุด 2. แป้นใบตอง 2 อัน 3. ด้ายหลอดหรือด้ายกลุ่มสีขาว
4. ผ้าขาวบาง 5. น้ำ





ผังลายมาลัยซีก สองหนึ่ง

ผังลายมาลัยซีกสามสอง



รูปแบบมาลัย


รูปแบบมาลัย



มาลัยคล้องมือ



มาลัยบ่าวสาว

ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิตแบบไทยและสืบทอดต่อไป

ประโยชน์ของมาลัย

ประโยชน์ของมาลัย
มาลัยแต่ละชนิดมีหน้าที่ใช้สอยต่าง ๆ กัน ตามโอกาสและความเหมาะสม ดังนั้น
1.             ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าของงาน เช่น มาลัยบ่าว-สาว
2.             ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อแสดงความยินดีหรือต้อนรับแขก
3.             ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อแสดงความยินดีหรือเป็นเกียรติแก่ผู้มีชัยชนะในการประกวดต่าง ๆ
4.             ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อแสดงความยินดีแก่ผู้มีชัยชนะในการแข่งขันต่าง ๆ
5.             ใช้สำหรับมอบให้บุคคลผู้มีชื่อเสียงเพื่อเป็นการรับขวัญ
6.             ใช้สำหรับทูลเกล้าฯถวาย ในการรับเสด็จฯ ในการเข้าเฝ้าตามโอกาสที่เหมาะสม
7.             ใช้สำหรับมอบให้แก่ประธานหรือแขกผู้ใหญ่
8.             ใช้สำหรับเป็นของชำร่วยแก่แขกที่มาในงาน
9.             ใช้สำหรับสวมคอในงานประเพณีพื้นบ้านของไทย
10.      ใช้แขวนประตูหน้าต่าง หรือเพดาน แทนเครื่องแขวน
11.      ใช้ห้องแทนเฟื่องดอกรัก
12.      ใช้บูชาพระ
13.      ใช้แขวนหรือประดับเครื่องดนตรีไทยในเวลาที่จะเล่น
14.      ใช้ในการประกอบท่ารำของการรำไทยบางชุด
15.      ใช้ในพิธีบวงสรวงเทพยดาต่างๆ
16.      ใช้สำหรับตกแต่งรัดมวยผม
17.      ใช้ประดิษฐ์เป็นดอกไม้สำหรับจัดแจกัน
18.      ใช้ในการคารวะผู้ที่เคารพนับถือ
19.      ใช้ในการประดับตกแต่งในงานดอกไม้สดต่างๆ
20.      ใช้ในการตกแต่งสิ่งต่างๆ ในบางโอกาส เช่น รัดฐานพระพุทธรูป
21.      ใช้แขวนห้อยหน้ารถหรือหัวเรือ

22.      ใช้ในการตกแต่งประดับเวที

การร้อยมาลัยกลมลายเกลียว

การร้อยมาลัยกลมลายเกลียว


มาลัยกลมลายเกลียวคือ มาลัยกลมที่ร้อยแล้วเกิดลวดลายเวียนเป็นเกลียวทั้งนี้อาจใช้ดอกไม้หรือใบไม้ต่างสีมาร้อยให้เกิดลวดลายเป็นเป็นเกลียวดังต่อไปนี้
สอดเข็มเข้าแป้นใบกล้วยพับแล้วรูดไปให้จับเข็มได้พอดีแป้นใบกล้วยจะเป็นตัวป้องกันไม่ให้ดอกไม้หลุดออกจากเข็มขณะที่กำลังร้อยมาลัยใช้มือที่ถนัดจับด้ามเข็มส่วนมือที่ไม่ถนัดใช้จับดอกไม้เสียบร้อยก่อนที่จะร้อยจะต้องเตรียมดอกไม้หรือใบไม้ให้พร้อมเพื่อให้สะดวกในการร้อย
แถวที่ 1 ร้อยดอกไม้หรือใบไม้ให้สีต่างกันดอก 2 ดอกใบ 2 ใบ
แถวที่ 2 ร้อยดอกไม้หรือใบไม้ให้สีต่างกันดอก 2 ดอกใบ 2 ใบเหมือนแถวที่ 1 รูดลงไปให้ถึงใบกล้วยสับหว่างระหว่างดอกที่ 1 และดอกที่ 2 ของแถวแรก
แถวที่ 3 ร้อยดอกไม้หรือใบไม้ให้สีต่างกันดอก 2 ดอกใบ 2 ใบ ให้สับหว่างเช่นเดียวกันร้อยอย่างนี้ไปเลื้อย ๆจนได้ความยาวตามต้องการ




การร้อยมาลัยตุ้ม

การร้อยมาลัยตุ้ม


มาลัยตุ้มคือมาลัยที่ร้อยคล้ายกับมาลัยตัวหนอนแต่ขนาดและความยาวของมาลัยตุ้มจะมีขนาดเล็กว่ามาลันตัวหนอนวัสดุดอกไม้ที่นำมาร้อยมาลัยตุ้มส่วนมากจะใช้ดอกมะลิ ดอกพุด หรือกลีบกุหลาบใบกระบือฯลฯอุปกรณ์เข็มมาลัย มีด กรรไกร คีม ภาชนะใส่ดอกไม้ ที่ฉีดน้ำ ฯลฯ วิธีร้อยมาลัยตุ้มลักษณะการร้อยมาลัยตุ้ม โดยมากจะร้อยจำนวน 9 ชั้น 11 ชั้นหรือมากกว่านั้น
แถวที่ 1,2 และแถวที่ 10,11 ร้อยดอกหรือกลีบดอกไม้จำนวน 5 ดอก
แถวที่ 3 และแถวที่ 9 ร้อยจำนวน 6 ดอก
แถวที่ 4 และแถวที่ 8 ร้อยจำนวน 7 ดอก
แถวที่ 5,6 และ 7 ร้อยจำนวน 8 ดอก
การส่งดอกหรือกลีบดอกไม้ในแถวที่ 1 และแถวที่ 2 จะส่งกลีบสั้นที่สุดแล้วเริ่มส่งกลีบยาวเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงแถวที่ 5,6,7 และเริ่มลดการส่งกลีบลงตั้งแต่แถวที่ 8 เป็นต้นไปจนถึงแถวที่ 10และแถวที่ 11 เป็นการจบแถวจะได้มาลัยตุ้มที่สำเร็จ

อุบะ

. อุบะ

อุบะคือส่วนประกอบที่ใช้สำหรับห้อยชายมาลัย หรือผูกห้อยระหว่างรอยต่อมีแบบต่าง ๆ ดังนี้

5.1
อุบะตุ้งติ้ง หรืออุบะขาเดียว
5.2 อุบะแขกหรืออุบะพวง
5.3 อุบะพู่
5.4 อุบะไทยธรรมดา
5.5 อุบะไทยทรงเครื่อง