วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

มาลัยแบน


มาลัยแบน

 

มาลัยแบน หมายถึง มาลัยที่มีลักษณะรูปทรงตามขวาง เป็นรูปยาวตามกลีบ ปลายกลีบของด้านตรงข้ามยาวจดแนวเส้นรอบวง แต่ปลายดอกของด้านขวางและด้านตรงข้ามแคบ เนื่องจากส่งก้านสั้นและชิดโคนดอก



 

มาลัยแบนแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. มาลัยแบนยกดอกด้านเดียว คือ มาลัยที่ใช้โชว์ด้านเดียว เหมาะสำหรับเป็นรัดข้อ รัดพานดอกไม้ คล้องกับมาลัยซีก หรือมาลัยผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น

2. มาลัยแบนยกดอกสองด้าน คือ มาลัยที่ใช้โชว์สองด้าน เหมาะสำหรับทำมาลัยคล้องคอ มาลัยชำร่วย ลักษณะจะเหมือนมาลัยแบนยกดอกด้านเดียว แต่จะยกดอกทั้งสองด้าน

3. มาลัยแบนยกดอกแบบตัวหนอน
คือ มาลัยแบนยกดอกสองด้านหัวท้ายจะเรียวเล็ก คล้ายมาลัยตัวหนอน แต่ส่วนกลางมองทางด้านหน้าจะดูป่องโค้ง แต่ถ้ามองด้านข้างส่วนกลางจะดูแบน


 
 

การร้อยมาลัยแบน มีหลักที่สำคัญดังนี้

1. การเลือกดอกพุด ต้องมีขนาดดอกโตเท่า ๆ กัน ตัดก้าน 2 ขนาด คือ ขนาดสั้น และยาว
ส่วนกลีบกุหลาบ เลือกกลีบใหญ่ เพื่อใช้ร้อยด้านข้างตลอดแนว
2. การขึ้นต้นแถวแรก กลีบกุหลาบทั้งสองข้างจะอยู่ในแนวเส้นตรง ดอกพุดจะทอดกลีบแนวตั้งฉากตรงกลาง ระหว่างกลีบกุหลาบทั้งสองข้าง
3. ส่วนมาลัยแบนตัวหนอนนั้น นิยมร้อยขึ้นต้นด้วยดอกพุด หรือกลีบกุหลาบ ส่งกลีบคล้ายร้อยมาลัยตุ้มครึ่งตุ้ม แล้วจึงต่อด้วยมาลัยแบน ด้านข้างจะดูโค้งมน ด้านหน้าและด้านหลัง จะเห็นลายแบน แล้วจบด้วยมาลัยตุ้มครึ่งตุ้มเช่นกัน

 

ร้อยมาลัยแบนตามขั้นตอนดังภาพ...
แถวที่ 1 กุหลาบ 2 พุด 1 กุหลาบ 2 (ความยาวกลีบกุหลาบเท่ากันทุกกลีบ ดอกพุดส่งก้านสั้น)
แถวที่ 2 กุหลาบ 1 พุด 2 กุหลาบ 1 (กลีบกุหลาบวางสับหว่างกับกลีบแถวที่ 1 ดอกพุดวางระหว่างดอกพุดแถวที่ 1)
แถวที่ 3 กุหลาบ 2 พุด 1 เญจมาศน้ำ 1 พุด 1 กุหลาบ 2 (ดอกเบญจมาศน้ำวางตรงกลางดอกพุด)
แถวที่ 4 กุหลาบ 1 พุด 2 กุหลาบ 1 (เหมือนแถวที่ 2)
แถวที่ 5 กุหลาบ 2 พุด 1 กุหลาบ 2 (เหมือนแถวที่ 1)
จะได้มาลัยแบนยกดอก 1 ช่วงลาย ร้อยให้ได้ความยาวตามต้องการนะคะ.............

 

 
                                             



      





 

 

มาลัยแบนนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

1. ใช้ประกอบมาลัยคล้องมือ มาลัยประธาน มาลัยสองชาย
2. ใช้ห้อยแทนเฟื่อง
3. ใช้ร้อยรัดประกอบงานดอกไม้สดต่าง ๆ เช่น รัดต้นเทียน ตกแต่งพาน แต่งเครื่องแขวน เป็นต้น

 

การร้อยมาลัยซีกดอกไม้สf




ความหมายของมาลัยซีกดอกไม้สด

ดาราศรี สมสวัสดิ์ (2529 : 36) ได้ให้ความหมายของคำว่า มาลัยซีกไว้ดังนี้
มาลัยซีก หมายถึง มาลัยที่มีลักษณะรูปทรงตามขวางเพียงครึ่งซีกของวงกลม มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าเสี้ยว หรือมาลัยเสี้ยว เพราะในสมัยโบราณใช้มาลัยนี้รัดจุกแทนเกี้ยวรัดผม มาลัยซีกมีประโยชน์มากมายในงานประดิษฐ์ดอกไม้สด เช่นใช้ผูกรัดเพื่อปิดรอยต่อของมาลัยและเครื่องแขวนต่าง ๆ ใช้รัดและคล้องเป็นมาลัยลูกโซ่ มาลัยผ้าเช็ดหน้า ผูกเป็นดอกทัดหู
อุปกรณ์
1. เข็มร้อยมาลัย 2. กรรไกร 3. คีมปากจิ้งจก 4. กระบอกฉีดน้ำ 5. ภาชนะใส่ดอกไม้
วัสดุ
1. ดอกไม้ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกพุด 2. แป้นใบตอง 2 อัน 3. ด้ายหลอดหรือด้ายกลุ่มสีขาว
4. ผ้าขาวบาง 5. น้ำ





ผังลายมาลัยซีก สองหนึ่ง

ผังลายมาลัยซีกสามสอง



รูปแบบมาลัย


รูปแบบมาลัย



มาลัยคล้องมือ



มาลัยบ่าวสาว

ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิตแบบไทยและสืบทอดต่อไป

ประโยชน์ของมาลัย

ประโยชน์ของมาลัย
มาลัยแต่ละชนิดมีหน้าที่ใช้สอยต่าง ๆ กัน ตามโอกาสและความเหมาะสม ดังนั้น
1.             ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าของงาน เช่น มาลัยบ่าว-สาว
2.             ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อแสดงความยินดีหรือต้อนรับแขก
3.             ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อแสดงความยินดีหรือเป็นเกียรติแก่ผู้มีชัยชนะในการประกวดต่าง ๆ
4.             ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อแสดงความยินดีแก่ผู้มีชัยชนะในการแข่งขันต่าง ๆ
5.             ใช้สำหรับมอบให้บุคคลผู้มีชื่อเสียงเพื่อเป็นการรับขวัญ
6.             ใช้สำหรับทูลเกล้าฯถวาย ในการรับเสด็จฯ ในการเข้าเฝ้าตามโอกาสที่เหมาะสม
7.             ใช้สำหรับมอบให้แก่ประธานหรือแขกผู้ใหญ่
8.             ใช้สำหรับเป็นของชำร่วยแก่แขกที่มาในงาน
9.             ใช้สำหรับสวมคอในงานประเพณีพื้นบ้านของไทย
10.      ใช้แขวนประตูหน้าต่าง หรือเพดาน แทนเครื่องแขวน
11.      ใช้ห้องแทนเฟื่องดอกรัก
12.      ใช้บูชาพระ
13.      ใช้แขวนหรือประดับเครื่องดนตรีไทยในเวลาที่จะเล่น
14.      ใช้ในการประกอบท่ารำของการรำไทยบางชุด
15.      ใช้ในพิธีบวงสรวงเทพยดาต่างๆ
16.      ใช้สำหรับตกแต่งรัดมวยผม
17.      ใช้ประดิษฐ์เป็นดอกไม้สำหรับจัดแจกัน
18.      ใช้ในการคารวะผู้ที่เคารพนับถือ
19.      ใช้ในการประดับตกแต่งในงานดอกไม้สดต่างๆ
20.      ใช้ในการตกแต่งสิ่งต่างๆ ในบางโอกาส เช่น รัดฐานพระพุทธรูป
21.      ใช้แขวนห้อยหน้ารถหรือหัวเรือ

22.      ใช้ในการตกแต่งประดับเวที

การร้อยมาลัยกลมลายเกลียว

การร้อยมาลัยกลมลายเกลียว


มาลัยกลมลายเกลียวคือ มาลัยกลมที่ร้อยแล้วเกิดลวดลายเวียนเป็นเกลียวทั้งนี้อาจใช้ดอกไม้หรือใบไม้ต่างสีมาร้อยให้เกิดลวดลายเป็นเป็นเกลียวดังต่อไปนี้
สอดเข็มเข้าแป้นใบกล้วยพับแล้วรูดไปให้จับเข็มได้พอดีแป้นใบกล้วยจะเป็นตัวป้องกันไม่ให้ดอกไม้หลุดออกจากเข็มขณะที่กำลังร้อยมาลัยใช้มือที่ถนัดจับด้ามเข็มส่วนมือที่ไม่ถนัดใช้จับดอกไม้เสียบร้อยก่อนที่จะร้อยจะต้องเตรียมดอกไม้หรือใบไม้ให้พร้อมเพื่อให้สะดวกในการร้อย
แถวที่ 1 ร้อยดอกไม้หรือใบไม้ให้สีต่างกันดอก 2 ดอกใบ 2 ใบ
แถวที่ 2 ร้อยดอกไม้หรือใบไม้ให้สีต่างกันดอก 2 ดอกใบ 2 ใบเหมือนแถวที่ 1 รูดลงไปให้ถึงใบกล้วยสับหว่างระหว่างดอกที่ 1 และดอกที่ 2 ของแถวแรก
แถวที่ 3 ร้อยดอกไม้หรือใบไม้ให้สีต่างกันดอก 2 ดอกใบ 2 ใบ ให้สับหว่างเช่นเดียวกันร้อยอย่างนี้ไปเลื้อย ๆจนได้ความยาวตามต้องการ




การร้อยมาลัยตุ้ม

การร้อยมาลัยตุ้ม


มาลัยตุ้มคือมาลัยที่ร้อยคล้ายกับมาลัยตัวหนอนแต่ขนาดและความยาวของมาลัยตุ้มจะมีขนาดเล็กว่ามาลันตัวหนอนวัสดุดอกไม้ที่นำมาร้อยมาลัยตุ้มส่วนมากจะใช้ดอกมะลิ ดอกพุด หรือกลีบกุหลาบใบกระบือฯลฯอุปกรณ์เข็มมาลัย มีด กรรไกร คีม ภาชนะใส่ดอกไม้ ที่ฉีดน้ำ ฯลฯ วิธีร้อยมาลัยตุ้มลักษณะการร้อยมาลัยตุ้ม โดยมากจะร้อยจำนวน 9 ชั้น 11 ชั้นหรือมากกว่านั้น
แถวที่ 1,2 และแถวที่ 10,11 ร้อยดอกหรือกลีบดอกไม้จำนวน 5 ดอก
แถวที่ 3 และแถวที่ 9 ร้อยจำนวน 6 ดอก
แถวที่ 4 และแถวที่ 8 ร้อยจำนวน 7 ดอก
แถวที่ 5,6 และ 7 ร้อยจำนวน 8 ดอก
การส่งดอกหรือกลีบดอกไม้ในแถวที่ 1 และแถวที่ 2 จะส่งกลีบสั้นที่สุดแล้วเริ่มส่งกลีบยาวเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงแถวที่ 5,6,7 และเริ่มลดการส่งกลีบลงตั้งแต่แถวที่ 8 เป็นต้นไปจนถึงแถวที่ 10และแถวที่ 11 เป็นการจบแถวจะได้มาลัยตุ้มที่สำเร็จ

อุบะ

. อุบะ

อุบะคือส่วนประกอบที่ใช้สำหรับห้อยชายมาลัย หรือผูกห้อยระหว่างรอยต่อมีแบบต่าง ๆ ดังนี้

5.1
อุบะตุ้งติ้ง หรืออุบะขาเดียว
5.2 อุบะแขกหรืออุบะพวง
5.3 อุบะพู่
5.4 อุบะไทยธรรมดา
5.5 อุบะไทยทรงเครื่อง


ประเภทของมาลัย

 ประเภทของมาลัย

ปัจจุบันมีการร้อยมาลัยหลายลักษณะ ซึ่งแบ่งประเภทตามลักษณะการร้อยและการเข้าพวงที่แตกต่างกันตามประโยชน์ใช้สอยได้ 3 ลักษณะคือ
4.1 มาลัยชายเดียว
4.2 มาลัยสองชาย
4.3 มาลัยชำร่วย
1. มาลัยชายเดียว มีชื่อเรียกคือมาลัยมือมาลัยเปียมาลัยข้อพระกรใช้บูชาพระรัตนตรัยเป็นของที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ
2. มาลัยสองชายพวงมาลัยที่มีอุบะห้อยทั้งสองข้างสำหรับตัวมาลัยอาจร้อยได้หลายลักษณะเช่น
2.1 มาลัยกลมธรรมดา และมาลัยกลมลวดลายต่าง ๆใช้เป็นมาลัยคล้องคอในพิธีมงคลสมรสหรือเพื่อแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสต่าง ๆเช่นเลื่อนยศตำแหน่งหรือเดินทางไปต่างประเทศ
2.2 มาลัยแบน
2.3 มาลัยตัวหนอน
3. มาลัยชำร่วยเป็นมาลัยที่ใช้แจกในโอกาสต่าง ๆเช่นงานมงคลสมรสงานขึ้นบ้านใหม่งานรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ ฯลฯ


ประโยชน์ของการร้อยมาลัย

2. ประโยชน์ของการร้อยมาลัย

2.1 ประโยชน์ต่อนักเรียน
1) นักเรียนรู้จักฝึกกระบวนการคิดแก้ปัญหาคิดสร้างสรรค์คิดวิเคราะห์
2) นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการฝึกการทำสมาธิ
3) นักเรียนได้ฝึกความอดทน
4) นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มรู้จักเสียสละแบ่งปัน
5) นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการร้อยมาลัยไปประกอบอาชีพ
2.2 ประโยชน์ต่อโรงเรียน
1) โรงเรียนได้นักเรียนที่มีความอดทน
2) โรงเรียนได้นักเรียนที่มีเหตุมีผลทำงานอย่างรอบคอบระมัดระวัง
3) โรงเรียนได้นักเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมในด้านความขยัน ความอดทนการอดออมความรอบคอบระมัดระวัง
2.3 ประโยชน์ต่อสังคม
1) สังคมได้บุคลากรที่นำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการประกอบอาชีพ
2) สังคมได้บุคลากรที่มีเหตุผลไม่สร้างปัญหาอื่นๆให้สังคม เช่นปัญหาเยาวชนทะเลาะวิวาทปัญหาการลักขโมยปัญหาหยุดเรียนกลางคัน

จุดประสงค์ของการร้อยมาลัย

1. จุดประสงค์ของการร้อยมาลัย

1.1 เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาของมาลัย
1.2 เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการร้อยมาลัยประเภทต่าง ๆ
1.3 เพื่อให้เลือกวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานร้อยมาลัยประเภทต่าง ๆ และการเก็บรักษาได้ถูกต้อง
1.4 เพื่อฝึกทักษะในงานร้อยมาลัยประเภทต่าง ๆ ได้
1.5 เพื่อให้เกิดความภูมิใจศิลปะงานร้อยมาลัย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมประจำชาติไทย
1.6 เพื่อฝึกสมาธิความขยันอดทนอดออมการรู้จักแบ่งปัน

หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
"มาลัย"น. ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง (พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปี 2525) "มาลัย" หมายถึง ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้กลีบดอกไม้ใบไม้ และส่วนต่างๆของดอกไม้ที่ร้อยได้ แล้วนำมาร้อยเป็นพวง ซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ กันมากมายหลายแบบตั้งแต่แบบดั้งเดิมจนถึงแบบสมัยใหม่ ซึ่งได้ดัดแปลงมาจากแบบดั้งเดิม (จันทนาสุวรรมาลีจากหนังสือ "มาลัย" หน้า 2) "พวงมาลัย"หมายถึงดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้ กลีบดอกไม้ ใบไม้ และส่วนต่าง ๆ ของดอกไม้ที่ได้นำมาร้อยด้วยเข็มยาว ๆ ซึ่งเรียกว่าเข็มมาลัย แล้วรูดออกมาใส่ด้ายผูกเป็นพวงมีลักษณะต่างๆกัน (มณีรัตน์จันทนะผะสินจากหนังสือชุดมรดกไทย เล่ม 1 "มะลิ" หน้า 288 )งานร้อยดอกไม้มีหลายประเภทจากง่ายไปยาก ซึ่งได้แก่อุบะต่างๆ การเย็บแบบ การร้อยมาลัย ฯลฯ และนำมาประกอบเป็นผลงานต่างๆ เช่น เครื่องแขวน มาลัย ฯลฯ สิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งทีทำให้เกิดผลผลิตดังกล่าว คือ ดอกไม้ ใบไม้ ดังนั้นเพื่อความเหมาะสม และเพื่อให้ผลงานมีความสวยงาม ประณีต จึงจำเป็นต้องเลือกดอกไม้ให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร้อยมาลัย ซึ่งจะต้องเลือกใช้ดอกไม้ประเภทต่างๆได้แก่ ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดอกพุด ดอกพิกุล ดอกพุทธชาด ดอกกล้วยไม้ ดอกเขี้ยวกระแต ดอกเฟื่องฟ้า ดอกบานบุรี ดอกแพงพวย ดอกกะเม็ง ฯลฯ ส่วนดอกไม้ที่เหมาะสำหรับทำดอกตุ้ม ได้แก่ ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกบานไม่รู้โรย ดอกชบาหนู ดอกกล้วยไม้ ดอกกุหลาบ ฯลฯ ส่วนใบไม้ที่นิยมนำมาร้อยมาลัย ได้แก่ ใบแก้ว ใบกระบือ ใบดอนย่าดังนั้นการเพิ่มศักยภาพให้นักเรียนได้เกิดความรู้เรื่องของมาลัยและยังสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านความขยันอดทนอดออมการรู้จักแบ่งปันความอ่อนน้อมถ่อมตน และเป็นการฝึกสมาธิ
คุณภาพของผู้เรียน
เมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรท้องถิ่น(นวัตกรรมการร้อยมาลัย)นี้แล้วผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ทางด้านความรู้ทักษะกระบวนการควบคู่ไปกับคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดี ดังนี้
1. นักเรียนเป็นคนอ่อนโยน
2. นักเรียนเป็นคนมีสมาธิ
3. นักเรียนเป็นคนรอบคอบ
4. นักเรียนเป็นคนช่างสังเกต
5. นักเรียนเป็นคนอดทนอดกลั้นรู้จักเสียสละแบ่งปันระมัดระวัง
6. นักเรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการร้อยมาลัย



วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการร้อยมาลัย

1 .เข็มสั้นหรือเข็มมือ
หมายถึงเข็มสั้นธรรมดาใช้สำหรับเย็บดอกข่า เย็บโบ หรือร้อยอุบะก็ได้ ปกติมักจะใช้เบอร์ 8 และเบอร์ 9

2 .ด้าย
ด้ายที่ใช้ในงานมาลัยมี 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ และขนาดเล็กด้ายร้อยมาลัยเส้นใหญ่ (สีขาว) ควรใช้ด้ายคู่ ด้ายร้อยอุบะใช้เส้นเล็ก (สีขาว)เบอร์ 40 หรือ 60 ด้ายสำหรับเย็บ หรือ มัดดอกข่าใช้เส้นเล็กควรใช้สีเดียวกับกลีบดอกไม้ที่ใช้ทำตุ้มดอกข่า

3. วาสลิน
เป็นน้ำมันชนิดหนึ่งใช้สำหรับทาเข็มมาลัยก่อนร้อยขณะร้อยเพื่อให้การรูดมาลัย ออกจากเข็มได้ง่าย

4. ริบบิ้นหรือโบว์
หมายถึงส่วนที่จะใช้ผูกติดกับมาลัยสำหรับคล้องคอ หรือใช้มือถือก็ได้ อาจเป็นริบบิ้นจากผ้าไนลอน ฟาง พลาสติก หรือริบบิ้นเงิน ริบบิ้นทอง

5. กรรไกร
ควรมี 2 ขนาดคือขนาดเล็กและขนาดกลาง

6. คีม




ความหมายการร้อยมาลัย



ความหมาย

มาลัย หมายถึงดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้ กลีบดอกไม้ ใบไม้
และส่วนต่างๆ ของดอกไม้ที่ร้อยได้ มาร้อยเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กันมากมายหลายแบบ

ตั้งแต่แบบดั้งเดิมจนถึงแบบสมัยใหม่ซึ่งก็ดัดแปลงมาจากแบบดั้งเดิมนั่นเอง

ประวัติการร้อยมาลัย

บรรพบุรุษของไทยเรามีชื่อเสียงในงานด้านศิลปะการประดิษฐ์อย่างมากมายโดยเฉพาะ การประดิษฐ์ตกแต่งพวงดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ และวัสดุอื่น ๆเป็นที่ขึ้นชื่อมานานแต่โบราณกาลแล้วแต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าได้มีการเริ่มต้นมาแต่ในสมัยใดแน่คงเนื่องมาแต่ไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้นั่นเอง จึงไม่มีหลักฐานใดๆให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบค้น ต่อมาในสมัยสุโขทัย เป็นราชธานีแต่ครั้งสมัยพระเจ้าอรุณมหาราช คือพระร่วงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระสนมเอก คือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในงานด้านฝีมือในการประดิษฐ์ดอกไม้สดเป็นเลิศในสมัยนั้นตามหลักฐานที่อ้างถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธี 12 เดือนตอนหนึ่งที่กล่าวถึงท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้คิดตกแต่งโคมลอยให้งดงามวิจิตรกว่าโคมของพระสนมอื่นทั้งปวง โดยการนำเอาดอกไม้ต่างๆ มาประดิษฐ์ตกแต่ง และยังได้เอาผลไม้มาทำการแกะสลักตกแต่งประกอบไปด้วย แต่ก็มิได้มีการอ้างถึงว่าในการตกแต่งครั้งนั้นมีการร้อยมาลัยมาประดับตกแต่งด้วยหรือไม่และในหลักฐานที่อ้างถึงตอนหนึ่งว่าในเดือนเมษายนมีพระราชพิธีสนามใหญ่บรรดาเจ้าเมือง เศรษฐีคหบดีเข้าเฝ้าถวายบังคมสมเด็จพระร่วงเจ้า เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการพระสนมกำนัลต่าง ๆ ก็ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ใส่เมี่ยงหมากถวายให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ ผู้มาเฝ้าและในครั้งนั้นนางนพมาศก็ร้อยดอกไม้สีเหลืองเป็นรูปพานทองสองชั้นรองขันมีระย้าระบายงดงามในขันใส่เมี่ยงหมาก แล้วร้อยดอกไม้เป็นตาข่ายคลุมขันอีกทีหนึ่งเป็นที่เจริญตาและถูก กาลเทศะอีก สมเด็จพระร่วงเจ้าจึงทรงบัญญัติว่าถ้าชาวไทยทำการรับแขกเป็นการสนามใหญ่ มีการอาวาห์มงคล หรือวิวาห์มงคล เป็นต้นให้ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมากดังนี้ และให้เรียกว่าพานขันหมาก
ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
มาลัยมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีหน้าที่ใช้สอยต่าง ๆกันไปตามโอกาสและความเหมาะสม ดังนั้นก็จะกล่าวรวม ๆ กัน มาลัยชนิดต่าง ๆมีประโยชน์ดังนี้ คือ

1. ใช้สำหรับคล้องคอเป็นเกียรติแก่เจ้าของงาน เช่น เจ้าบ่าว- เจ้าสาว ในงานแต่งงานผู้บังคับบัญชา หรือผู้มาร่วมงานคนใหม่ในงานเลี้ยงรับผู้มาใหม่หรือผู้ที่จะย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ยังที่ทำงานอื่นในงานเลี้ยงส่งผู้ที่จะจากไปยังที่อื่นถ้าจัดงานเป็นพิธีก็มักจะนิยมใช้มาลัยสองชายชนิดสำหรับคล้องคอเพื่อเป็นการแสดงถึงการให้เกียรติแก่บุคคลนั้น ๆ เป็นสำคัญ

2. ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อแสดงความยินดีหรือต้อนรับแขก เช่น การต้อนรับแขกต่างประเทศอาจใช้มาลัยสองชายสำหรับคล้องคอ ในตอนที่ไปรับที่สนามบินเพื่อเป็นการบ่งบอกหรือแสดงออกถึงความยินดีที่บุคคลนั้น ๆ ได้มาเยี่ยมเยือน

3. ใช้สำหรับคล้องคอหรือสวมคอเพื่อแสดงความยินดี หรือเป็นเกียรติแก่ผู้มี ชัยชนะในการประกวดต่าง ๆ เช่นการประกวดความงาม การประกวดร้องเพลง หรือการประกวดการแสดงต่าง ๆ ฯลฯส่วนใหญ่มักนิยมใช้มาลัยสองชาย หรืออาจเป็นมาลัยพวงดอกไม้สวย ๆ ก็ได้

4. ใช้สำหรับคล้องคอหรือสวมคอเพื่อแสดงความยินดี หรือเป็นเกียรติแก่ผู้มี ชัยชนะในการแข่งขันต่าง ๆเช่น การแข่งขันกีฬา กรีฑา และการละเล่นต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้มาลัยสองชายหรือมาลัยสำหรับสวมคอเช่นกันแต่ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากมาลัยได้หลายๆงานไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคลเพียงแต่ต้องคำนึงถึงวัสดุตกแต่งให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ มีการใช้ดอกไม้ ใบไม้หรือวัสดุทดแทนได้หลายๆอย่างตามสภาพของท้องถิ่น ฤดูกาลอาจเป็นวัสดุที่เก็บรักษาได้นาน เช่นดินปั้นดอกไม้ ซึ่งหาซื้อได้ง่าย สะดวกราคาไม่สูงมากนัก เพียงแต่คนที่จะร้อยต้องใช้เวลาฝึกฝนจนชำนาญ จึงจะร้อยได้สวยงาม